ค้นเจอ 694 รายการ

บางสุ

หมายถึง(กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปำสุ).

เสี้ยว

หมายถึงน. ส่วน ๑ ใน ๔ เช่น เขาผ่าแตงโมออกเป็น ๔ เสี้ยว, ส่วนย่อย เช่น เขาผ่าฟักทองเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ. ว. เฉ, ไม่ตรง, เช่น เธอตัดผ้าเสี้ยว.

ซีป่าย

หมายถึงน. ชื่อทหารกองหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ เอาแบบมาจากทหารซีปอย.

ตรีพิธพรรณ

หมายถึง[ตฺรีพิดทะพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่ง.

กินนรรำ

หมายถึงน. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.

ขยด

หมายถึง[ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).

ลอยแพ

หมายถึงก. จับใส่แพแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปในน้ำตามยถากรรม เช่น สมัยโบราณเอาคนชั่วลอยแพไป นางกากีถูกลอยแพ, โดยปริยายหมายถึง ปล่อยให้ตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น โรงงานขาดทุนต้องปิดกิจการ คนงานจึงถูกลอยแพ.

จดุรงค์

หมายถึง[จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค).

ตำลึง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).

สิ้นฝีมือ

หมายถึงว. เต็มความสามารถที่มีอยู่; หมดความสามารถ; หมดฝีมือ ก็ว่า; ไม่มีใครเทียบความสามารถได้ เช่น ม่านนี้ฝีมือวันทองทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่ เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว. (ขุนช้างขุนแผน).

โยทะกา

หมายถึงน. ตาขอเหล็กชนิดหนึ่ง มี ๓-๔ ขา สำหรับเกี่ยวหรือสับ.

หืน

หมายถึง(กลอน) ว. หิน, เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ดู หิน ๔, หิน-).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ