ค้นเจอ 694 รายการ

บาท

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท.

สาวสะ

หมายถึงน. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ นางสะ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงสาวรุ่น.

ไม้เปิดปีก

หมายถึงน. ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทั้ง ๔ ด้าน.

จัตุรมุข

หมายถึงน. เรียกอาคารที่มี ๔ มุข.

หอมหื่น

หมายถึง(วรรณ) ก. หอมยวนใจ เช่น หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนางฯ. (เห่ชมไม้).

เทพี

หมายถึงน. เทวี, เรียกหญิงที่ทำหน้าที่โปรยพืชพรรณธัญญาหารในพิธีแรกนาว่า นางเทพี, หญิงที่ชนะประกวดความงาม เช่น เทพีสงกรานต์.

ตะลอง

หมายถึงน. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน.

ตับเรื่อง

หมายถึงน. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกันและดำเนินไปโดยลำดับ แต่อาจเป็นทำนองเพลงคนละอัตราก็ได้ เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ.

ขดาน

หมายถึง[ขะ-] (โบ) น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ).

แขนง

หมายถึง[ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คำหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.

จาตุรงค,จาตุรงค-,จาตุรงค์

หมายถึง[-ตุรงคะ-] ว. มีองค์ ๔, มีส่วน ๔. (ป. จาตุร + องฺค).

เพลงเสมอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ