ค้นเจอ 235 รายการ

อรูปฌาน

หมายถึง[อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).

พัดหน้านาง

หมายถึงน. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำกว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้านาง ด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็นพัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.

สังวร

หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).

นิกาย

หมายถึงน. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).

ร้อยกรอง

หมายถึงก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ; ตรวจชำระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคำว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คำประพันธ์, ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.

ศาสน,ศาสน-,ศาสนา

หมายถึง[สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คำสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).

พลี

หมายถึง[พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตามแบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).

พัดยศ

หมายถึงน. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.

ถึง

หมายถึงก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยายหมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่น ไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคำจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึง เช่น ทำอย่างนี้ถึงจะดี.

พระเดชพระคุณ

หมายถึงน. คำใช้นำหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นำหน้าสมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คำเรียกผู้มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

พรต

หมายถึง[พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจำศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภคอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บำเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บำเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).

หัวใจ

หมายถึงน. อวัยวะภายในสำหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มีหัวใจ; ส่วนสำคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ