ค้นเจอ 1,910 รายการ

สรทะ

หมายถึง[สะระ-] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท).

กษีร,กษีร-,กษีระ

หมายถึง[กะสีระ] (แบบ) น. นํ้านม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).

กุมภนิยา

หมายถึงน. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.

น้ำนอง

หมายถึง(๑) ดู กลึงกล่อม. (๒) ดู กำแพงเจ็ดชั้น ๒ (๒).

อนุบท

หมายถึงน. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).

กรู

หมายถึง[กฺรู] น. ข้าวชนิดที่ทำเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกรู.

ลาญทัก

หมายถึง(โบ) ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย. (แช่งน้ำ).

ทะนานหลวง

หมายถึงน. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท.

บริบท

หมายถึง[บอริบด] (ไว) น. คำหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.

อุตรภัทรบท,อุตตรภัทรบท,อุตตรภัททะ

หมายถึง[อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).

อาศรม,อาศรมบท

หมายถึง[อาสม, อาสมบด] น. ที่อยู่ของนักพรต. (ส.; ป. อสฺสม, อสฺสมปท).

ชนบท

หมายถึง[ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป. (ป., ส. ชนปท).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ