ค้นเจอ 433 รายการ

คลางแคลง

หมายถึง[คฺลางแคฺลง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, แคลงคลาง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.

ตระง่อง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.

ปฤษฎางค์

หมายถึง[ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า.

จริก

หมายถึง[จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).

ตะพัง

หมายถึงน. แอ่ง, บ่อ, หนอง, กระพัง ตระพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพำง ว่า บ่อที่เกิดเอง).

เถกิง

หมายถึง[ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดำเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).

กานท์

หมายถึง(โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ. (ยวนพ่าย).

สมสอง

หมายถึง(วรรณ) ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้. (กำสรวล).

เหมียว

หมายถึงน. คำใช้เรียกแทนคำว่า แมว ตามเสียงร้องของมันในคำว่า อ้ายเหมียว อีเหมียว.

เหมือง

หมายถึง[เหฺมือง] น. บ่อ เช่น เหมืองถ่านหิน เหมืองแร่; ลำราง, ร่องนํ้าสำหรับชักนํ้าเข้าไปหล่อเลี้ยงพืชที่เพาะปลูก, เช่น ชักน้ำจากเหมืองเข้านา.

ครุฑพ่าห์

หมายถึง[คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.

ทับศัพท์

หมายถึงว. ที่รับเอาคำของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ