ค้นเจอ 24 รายการ

สำรวย

หมายถึงว. ทำกิริยากรีดกรายหยิบหย่ง, เอาแต่แต่งตัว, เช่น ท่าทางสำรวยอย่างนี้ คงจะทำงานหนักไม่ไหว. (แผลงมาจาก สวย).

เกาะกิน

หมายถึงก. อาศัยกินอยู่กับคนอื่นโดยเอาแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว ไม่ช่วยทำงานหรือช่วยเหลือจุนเจือผู้นั้น, ทำตัวดุจกาฝาก.

แต่

หมายถึงว. เฉพาะ, อย่างเดียว, เท่านั้น, เช่น เลือกเอาแต่ที่ดี ๆ อยู่แต่ในบ้าน. บ. นำหน้านามบอกเวลาหรือบอกสถานที่ เช่น มาแต่เช้า มาแต่บ้าน แต่ไหนแต่ไรมา.

สันหลังยาว

หมายถึง(สำ) ว. เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า.

เกรอะ

หมายถึง[เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นนํ้าใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้นอยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะนํ้าปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.

กลั่น

หมายถึง[กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.

กระสาย

หมายถึงน. เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยาทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.

แก้ม

หมายถึงน. บริเวณหน้าทั้ง ๒ ข้างถัดตาลงมา, ราชาศัพท์ว่า พระปราง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีรูปเช่นนั้น เช่น เฉือนมะม่วงเอาแต่ ๒ แก้ม = เฉือนเอา ๒ ส่วนที่มีลักษณะเหมือนแก้ม.

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

เขม้น

หมายถึง[ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล).

เกล็ด

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน นํ้าตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ