ค้นเจอ 326 รายการ

ปาเต๊ะ

หมายถึงน. ชื่อผ้าโสร่งชนิดหนึ่ง ใช้เคลือบด้วยขี้ผึ้งเหลวบางตอนที่ไม่ต้องการให้มีสีสันหรือลวดลาย. (ม. batik).

ชฎามหากฐิน

หมายถึงน. ชฎาที่ทำยอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปักตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก.

จีนฮ่อ

หมายถึงน. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑลยูนนานเป็นต้น, ฮ่อ ก็เรียก.

อักขรวิธี

หมายถึงน. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).

หลัว,หลัว,หลัว ๆ

หมายถึง[หฺลัว] ว. มัว, ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ตอนเช้าใกล้สว่าง อากาศยังหลัว ๆ อยู่ มองอะไรไม่ค่อยชัด, ใช้ว่า สลัว ก็มี.

ฮั่น

หมายถึงน. เรียกชนชาติโบราณกลุ่มใหญ่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในตอนกลางของทวีปเอเชีย. (อ. Hun; ส. หูณ).

เย้า

หมายถึงน. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้ว-เย้า.

วรรค

หมายถึง[วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).

กัณฑ์

หมายถึง[กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).

เจ้าไทย

หมายถึง(โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).

กระหยัง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสำหรับใส่ของ.

ขยัก

หมายถึง[ขะหฺยัก] ก. กักหรือเก็บไว้บ้างไม่ปล่อยไปจนหมดหรือไม่ทำให้หมด. น. ตอน, พัก, เช่น ทำ ๒ ขยัก ๓ ขยัก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ