ค้นเจอ 115 รายการ

เป็นไร

หมายถึงว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคำถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ.

เคียร

หมายถึง[เคียน] (แบบ) น. คำพูด เช่น เอื้อนโองการมีสีหนาท เคียรคำถาม. (สุธน). (ป., ส. คิรา).

ดำรัส

หมายถึง[-หฺรัด] น. คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).

ปรัศนี

หมายถึง[ปฺรัดสะ-] น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ?, เครื่องหมายคำถาม ก็เรียก; สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ. (ส.).

โจทย์

หมายถึง[โจด] น. คำถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

ว่าขาน

หมายถึงก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).

เออ

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คำที่เปล่งออกมาแสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.

เอกังสพยากรณ์

หมายถึง[-สะพะยากอน] น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที.

ตอบ

หมายถึงก. ทำหรือพูดโต้ในทำนองเดียวกับที่มีผู้ทำหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยมตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคำถาม, แจ้งกลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไปว่า แก้มตอบ.

จ๊ะ

หมายถึงว. คำต่อท้ายคำเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.

เยี่ยม

หมายถึงก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงกหน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ