ค้นเจอ 315 รายการ

อักษรกลาง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

กระหง่อง,กระหน่อง,กระหน่อง

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.

พลวก

หมายถึง[พฺลวก] ก. อาการที่ข้าวทะลักออกมาจากหม้อพร้อมกับน้ำข้าวในเวลาเช็ดหม้อข้าว เรียกว่า ข้าวพลวกจากหม้อ, อาการที่ดินยุบลงเพราะไม่แน่น เช่น ดินพลวกลง.

ทรงมัณฑ์

หมายถึง[ซงมัน] ว. มีรูปทรงกลมหรือเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียวขึ้นไปอย่างหัวเม็ดเสาเกย. (สันนิษฐานกันว่า คำว่า มัณฑ์ น่าจะตัดมาจากคำ มณฑป).

ชฎา

หมายถึง[ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).

ยวบยาบ

หมายถึงว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทำให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการที่พื้นยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.

หนวด

หมายถึง[หฺนวด] น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก หนวดแมว.

รามเกียรติ์

หมายถึง[รามมะเกียน] น. ชื่อวรรณคดีเรื่องหนึ่ง ว่าด้วยพระรามทำศึกกับทศกัณฐ์เพื่อชิงนางสีดา.

ตาจระเข้

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้.

ธนาคาร

หมายถึงน. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ที่ใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อว่า ธนาคาร ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินและธุรกิจหลักทรัพย์. (ป. ธน + อคาร).

ปล้อง

หมายถึง[ปฺล้อง] น. ช่วงระยะระหว่างข้อของไม้ไผ่หรืออ้อย ฯลฯ, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอปล้อง คือ คอที่มีริ้วรอยเห็นเป็นปล้อง ๆ.

ยางนอก

หมายถึงน. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอกหล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ