ค้นเจอ 36 รายการ

กล้อ

หมายถึง[กฺล้อ] (โบ) น. เครื่องสานยาชันชนิดหนึ่ง เช่น ก็ให้น้ำเต็มเต้า เข้าเต็มไหไปเต็มหม้อ ชื่อว่ากล้อก็บมิให้พร่องเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (ดู กร้อ). (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).

ทบวง

หมายถึง[ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.

กระจายหางดอก

หมายถึงน. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตำละลายกับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).

กำบัง

หมายถึงน. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย หัวเล็ก ๆ ติดกันดั่งกล้วยไข่ ต้นและใบเขียว เนื้อในขาว ใช้สำหรับเป็นว่านกันภัยในทางลัทธิ และกันว่านร้ายต่าง ๆ, ว่านกั้นบัง ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).

อายตนะ

หมายถึง[-ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).

สังวร

หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).

วิญญาณ

หมายถึงน. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺาน).

กำแพงขาว

หมายถึงน. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. (กบิลว่าน).

ตุ๋ยตุ่ย

หมายถึงน. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว มีไม้ยื่นออกไปสำหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบธนูที่ทำด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทำให้เกิดเสียงคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลาเย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟังเสียงในเวลากลางคืน.

กระบูนเลือด

หมายถึงน. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).

กระท่อมเลือด

หมายถึงน. ตำรากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).

กระสือ

หมายถึงน. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ