ค้นเจอ 1,226 รายการ

ชีผะขาว,ชีผ้าขาว

หมายถึงดู ชีปะขาว ๒ (๑).

มิตร,มิตร-

หมายถึง[มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).

สุดปัญญา

หมายถึงว. ใช้ปัญญาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด เช่น เลขข้อนี้คิดจนเกือบสุดปัญญาจึงทำได้ ฉันช่วยเขาจนสุดปัญญาแล้วก็ยังไม่สำเร็จ.

ยาวกาลิก

หมายถึง[ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). (ป.).

เบญจโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

รู้รส

หมายถึงก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสียบ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.

เข้าหู

หมายถึงก. มาให้ได้ยิน (ใช้สำหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู.

คลับคล้าย,คลับคล้ายคลับคลา

หมายถึง[คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนราง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.

ความเห็น

หมายถึงน. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็นว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.

อ้อดิบ

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นคูน. [ดู คูน ๑ (๑)].

เสียหูเสียตา

หมายถึงก. สูญเสียหูและตาไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยากดูไม่อยากฟัง เช่น ละครไม่มีคุณภาพอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียหูเสียตาหรอก.

เอง

หมายถึงว. คำเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดาอยู่เอง; ตามลำพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ