ค้นเจอ 245 รายการ

หาเหตุ

หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.

ฉิน

หมายถึงว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคำ โฉม เป็น ฉินโฉม หรือ โฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

ประทุมราค

หมายถึง[ปฺระทุมมะราก] น. ปัทมราค, พลอยสีแดง, ทับทิม, เช่น แขกเต้าตากปีกปาก ประทุมราคแดงฉัน. (เสือโค). (ป. ปทุมราค; ส. ปทฺมราค).

สะทกสะท้าน

หมายถึงก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน.

รู้อยู่ ๆ

หมายถึงไม่รู้เรื่องหรอก แต่ทำเป็นพูด อาจจะเพราะรำคาญหรือกลัวเสียหน้า

ขาย

หมายถึงก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดยตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชำระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอมเก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขามาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.

สันธาน

หมายถึงน. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คำพวกที่เชื่อมประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).

รับผิดชอบ

หมายถึงก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง.

กะชะ

หมายถึงน. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สำหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.

บุรพบท

หมายถึง[บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

รัก

หมายถึงก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.

ดอก

หมายถึงว. คำประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทำไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้วโลมคืน. (ม. คำหลวง ชูชก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ