ค้นเจอ 304 รายการ

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

หูหนัก

หมายถึงว. ไม่เชื่อคำป้อยอหรือยุแหย่เป็นต้นของใครง่าย ๆ.

ขวานผ่าซาก

หมายถึง(สำ) ว. โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด).

ตระหนี่ตัว

หมายถึงก. หวงตัว ไม่ยอมให้ใครอุ้ม (ใช้แก่เด็ก).

เอกราช

หมายถึง[เอกกะราด] ว. เป็นอิสระแก่ตน, ไม่ขึ้นแก่ใคร.

ทำไม

หมายถึงว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทำอะไร เช่น ฉันจะทำอย่างนี้ ใครจะทำไม.

ปรองดอง

หมายถึง[ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.

สติปัฏฐาน

หมายถึงน. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).

ไตรทศ

หมายถึง[-ทด] น. เทวดา ๓๓ องค์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ไม่แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์อีก ๓๒ องค์, ตรีทศ ก็ว่า.

สอบอารมณ์

หมายถึงก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.

ชโลง

หมายถึง[ชะ-] (โบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซ, จรรโลง, จูง เช่น ให้เป็นหลักชโลงจิต. (กฎ. ราชบุรี).

หยิบมือเดียว

หมายถึง(สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไปรบกับใครเขาได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ