ค้นเจอ 88 รายการ

โรคจิตเภท

หมายถึงน. กลุ่มอาการของโรคทางจิตที่ทำให้ความคิด การรับรู้ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดปรกติ. (อ. schizophrenia).

ไตรสิกขา

หมายถึงน. สิกขา ๓ คือ ศีล เรียกว่า สีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา.

เอกัคตา

หมายถึง[เอกักคะ-] น. “ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว” หมายถึง ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว. (ป. เอกคฺคตา).

อานนท์,อานนท์,อานันท์

หมายถึงน. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).

จิตกาธาน

หมายถึง[จิดตะ-] น. เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน. (ป., ส. จิตก + อาธาน).

ส่งความสุข

หมายถึงก. ตั้งจิตอธิษฐานให้ผู้รับบัตรอวยพรมีความสุขความเจริญในวันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด.

เลื่อมใส

หมายถึงก. มีความเชื่อถือ เช่น เลื่อมใสศาสนา, มีจิตยินดี, เห็นชอบด้วย, เช่น เลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เลื่อมใสในแนวการประพฤติปฏิบัติของเขา.

อัธยาตมวิทยา

หมายถึง[อัดทะยาดตะมะวิดทะยา] (โบ) น. วิชาว่าด้วยจิต, ปัจจุบันใช้ว่า จิตวิทยา. (ส.).

สมาธิ

หมายถึง[สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสำรวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).

ทราม

หมายถึง[ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบเป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.

แกว่ง

หมายถึง[แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคนหรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ