ค้นเจอ 317 รายการ

น้ำอ้อย

หมายถึงน. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทำเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสำหรับต้มกลั่นสุราหรือใช้ผสมปูนสอสำหรับการก่อสร้าง.

กระหริ่ง

หมายถึงน. บ่วงหวายสำหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน), กะริง ก็ว่า.

ชงโลง

หมายถึงน. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).

สลากภัต

หมายถึง[สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. (ป. สลากภตฺต).

รังหยาว

หมายถึงก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนังทำรังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น-ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.

พะยุพยุง

หมายถึง[-พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับหิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

กระบี่

หมายถึง(กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).

เลื่อยหางหนู

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาวปลายเรียวแหลม ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอสำหรับจับ.

กั้นซู่

หมายถึง(โบ) น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง กล่าวกันว่ามีลักษณะเหมือนถุงอย่างเดียวกับโพงพาง หรือเป็นไม้ซึ่งปักเป็นปีกของเครื่องมือประจำที่ซึ่งเรียก กั้นซู่รั้วไซมาน หรือ ซู่กั้นรั้วไซมาน.

เส้นลึก

หมายถึงว. ที่ทำให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ยาก เช่น เขาเป็นคนเส้นลึก แม้จะได้ยินเรื่องขำขันอย่างไรก็ไม่หัวเราะ; อาการที่เก็บความรู้สึกได้ดีจนยากที่จะสังเกตได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจสิ่งใด เช่น เขาจับเส้นเจ้านายไม่ถูก เพราะเป็นคนเส้นลึกมาก. น. เส้นที่อยู่ในตำแหน่งลึกของร่างกาย เช่นอยู่ชิดหรือใกล้ซอกกระดูกหรือในท้อง ทำให้กดหรือจับยาก.

สามบาน

หมายถึงน. การแสดงกระบี่กระบองแบบหนึ่ง ใช้อาวุธหลายชนิดเข้าต่อสู้กันโดยไม่จับคู่กับอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น กระบองคู่กับดาบสองมือ ง้าวคู่กับดาบดั้ง.

ลมปราณ

หมายถึงน. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้นลมปราณ; วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ