ค้นเจอ 172 รายการ

กำลอง

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).

แล

หมายถึงก. ดู, มอง, เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา, ทอดตาดูเพื่อให้รู้ให้เห็น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.

เรียบวุธ

หมายถึงก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืนจดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. (ปาก) ว. หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียเรียบวุธเลย.

เลี้ยว

หมายถึงก. หักแยก โค้ง หรือคดเคี้ยวไปจากแนวตรง เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา. น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง เช่น เลยเลี้ยวแรกไป ๕๐ เมตรก็ถึงที่พัก, หัวเลี้ยว ก็ว่า.

ลีลา

หมายถึงน. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).

ห้ามพระแก่นจันทน์

หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม.

ห้อม

หมายถึงก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).

มีดตอก

หมายถึงน. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างป้าน ๆ สันหนา คมบาง ด้ามยาวและมีปลายงอนขึ้นคล้ายคันธนู ใช้จักตอก เหลาไม้หรือหวาย.

ยัชโญปวีต

หมายถึง[ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรำ หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).

ฤๅษีผสม

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Plectranthus scutellarioides (L.) R. Br. ในวงศ์ Labiatae ใบมีสีต่าง ๆ ขอบใบจักเป็นรูปฟันปลา, ฤๅษีผสมแล้ว หรือ ฤๅษีผสมเสร็จ ก็เรียก.

แครงเครียว

หมายถึง[แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คำหลวง มหาพน).

กระบี่ธุช

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ