ค้นเจอ 172 รายการ

ซ้าย

หมายถึงว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลังไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.

กินขวา,กินซ้าย

หมายถึงก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนลํ้าไปทางขวาหรือซ้ายมากเกินควร

สีหไสยา,สีหไสยาสน์

หมายถึงน. ท่านอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา แขนซ้ายพาดไปตามลำตัว เท้าซ้ายซ้อนบนเท้าขวา มือขวารองรับศีรษะด้านข้าง.

อรรธจักร

หมายถึง[อัดทะจัก] น. เรียกดวงชาตาของคนที่พระเคราะห์ไปร่วมกันอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง.

เท้ง

หมายถึง(กลอน) ก. ทิ้ง เช่น ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา. (ตะเลงพ่าย).

กรมเกรียม

หมายถึงก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม. (กฤษณา).

ดอง

หมายถึงน. วิธีห่มผ้าของภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดบ่าซ้าย เปิดบ่าขวา เรียกว่า ห่มดอง.

ตะบี้ตะบัน

หมายถึง(ปาก) ว. ซํ้า ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.

ไตรจักร

หมายถึง[-จัก] น. ภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ, ตามไสยศาสตร์ว่า สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล.

แง้ม

หมายถึงก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลองบางกอกน้อยแง้มขวา.

สวัสติกะ

หมายถึง[สะหฺวัดติกะ] น. สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา. (ส. สฺวสฺติกา).

หัน

หมายถึงก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้ากับศัตรู.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ