ค้นเจอ 153 รายการ

ชิงเปรต

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า “เปรต” ในงานทำบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทำบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.

เบียน

หมายถึงก. รบกวน, ทำให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบียด เป็น เบียดเบียน; (โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกินอาหารว่า ตัวเบียน.

พลาง

หมายถึง[พฺลาง] ว. ในระยะเวลาเดียวกัน (มักใช้กับกริยาที่ควบคู่กัน) เช่น เขาเดินพลางกินพลาง กองทัพสู้พลางถอยพลาง, ชั่วระหว่างเวลา (ที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกำหนดเป็นต้น) เช่น กินไปพลางก่อน ทำไปพลางก่อน อยู่ไปพลางก่อน.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] ว. เท่ากัน, พอ ๆ กัน, เหมือนกัน, เช่น กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ; เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐,๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐,๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.

ตรำ

หมายถึง[ตฺรำ] ว. ปล่อยทิ้งตากแดดตากฝนไว้นาน ๆ เช่น ตัดไม้ทิ้งตรำแดดตรำฝนไว้, สู้ทนลำบาก เช่น ทำงานตรำแดดตรำฝน ตรำงาน, กรำ ก็ว่า.

จอด

หมายถึงก. หยุดอยู่หรือทำให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).

สิ้นเชิง

หมายถึงก. สิ้นท่า, หมดท่า, หมดชั้นเชิง, เช่น อันธพาลเมื่อเจอนักสู้เข้าก็สิ้นเชิงนักเลง, โดยปริยายมักใช้กับคำ โดย หรือ อย่าง เป็น โดยสิ้นเชิง อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกประการ, เช่น ข่าวลือนี้ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.

ลุ่ย

หมายถึงก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่งที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.

ขายทอดตลาด

หมายถึง(กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทำโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.

ตาก

หมายถึงก. ผึ่งให้แห้ง เช่น ตากผ้า, ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เช่น ตากแดด ตากฝน; ตรำ, สู้ทน, เช่น เดินตากฝน นอนตากยุง. ว. ห่าง, แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน; ที่ผึ่งแดดจนแห้ง เช่น ข้าวตาก กล้วยตาก; เรียกหลังคาเรือนที่ชันน้อยว่า หลังคาตาก.

สุด

หมายถึงก. สิ้น เช่น สุดกระแสความ สุดความ, หมด เช่น รักสุดหัวใจ, จบ เช่น สุดสายรถประจำทาง. ว. ปลายหรือท้าย เช่น สุดแดน สุดแผ่นดิน ในที่สุด, ปลายทางใดทางหนึ่ง เช่น เหนือสุด ขวาสุด บนสุด; อย่างมาก, อย่างยิ่งยวด, เช่น สุดรัก สุดเสียดาย สุดอาลัย, เต็มที่เต็มกำลัง, เช่น สู้จนสุดชีวิต งานนี้เขาทุ่มจนสุดตัว; เกินกว่าจะทำได้ เช่น สุดกลั้น สุดไขว่คว้า สุดทน.

วิญญาณ

หมายถึงน. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ