ค้นเจอ 261 รายการ

ตระง่อง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.

ปฤษฎางค์

หมายถึง[ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า.

จริก

หมายถึง[จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).

ตะพัง

หมายถึงน. แอ่ง, บ่อ, หนอง, กระพัง ตระพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพำง ว่า บ่อที่เกิดเอง).

เถกิง

หมายถึง[ถะเกิง] ว. สูงศักดิ์, รุ่งเรือง, กึกก้อง, ลั่นลือ, ใช้แผลงเป็น ดำเกิง ก็มี. (ข. เถฺกีง).

สมสอง

หมายถึง(วรรณ) ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้. (กำสรวล).

เหมียว

หมายถึงน. คำใช้เรียกแทนคำว่า แมว ตามเสียงร้องของมันในคำว่า อ้ายเหมียว อีเหมียว.

เหมือง

หมายถึง[เหฺมือง] น. บ่อ เช่น เหมืองถ่านหิน เหมืองแร่; ลำราง, ร่องนํ้าสำหรับชักนํ้าเข้าไปหล่อเลี้ยงพืชที่เพาะปลูก, เช่น ชักน้ำจากเหมืองเข้านา.

ครุฑพ่าห์

หมายถึง[คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.

ทับศัพท์

หมายถึงว. ที่รับเอาคำของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.

กลวม

หมายถึง[กฺลวม] (โบ) ก. กรวม, สวม; ทับ เช่น บงงเมฆกลวมกลุ้มหล้าหล่อแสง. (ยวนพ่าย).

โกณก,โกณะ

หมายถึง[-นก] (แบบ) น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทกเพ็ญพยง. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ