ค้นเจอ 5,971 รายการ

ปรัสสบท

หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.

ประ

หมายถึง[ปฺระ] ก. ทำให้เป็นจุด ๆ เช่น ประไข่ปลา, ทำให้เป็นจุด ๆ หรือเม็ด ๆ ทั่วไปอย่างประแป้ง.

ปริ

หมายถึง[ปฺริ] ก. แย้ม, ผลิ, แตกแต่น้อย.

ประ

หมายถึง[ปฺระ] ดู กระ ๓.

ประ

หมายถึง[ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.

กระมัง

หมายถึงว. คำแสดงความไม่แน่ใจ, คำแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.

ประสันนาการ

หมายถึงน. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).

ปากอ่าว

หมายถึงน. ปากของส่วนทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดิน.

ยวบ

หมายถึงก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ.

มงคลวาท

หมายถึง[มงคนละวาด] น. คำให้พร, คำแสดงความยินดี.

สูป,สูป-,สูปะ

หมายถึง[สูปะ-] น. ของกินที่เป็นนํ้า, แกง, ของต้มที่เป็นนํ้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ พยัญชนะ เป็น สูปพยัญชนะ หมายความว่า กับข้าว. (ป., ส.).

ปุงคพ,ปุงควะ

หมายถึง[ปุงคบ, ปุงคะ-] น. โคผู้, หมายความว่า ผู้เลิศ, ผู้ประเสริฐ, หัวหน้า, เช่น ศากยปุงควะ ว่า ผู้ประเสริฐในศากยตระกูล. (ป. ปุงฺคว).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ