ค้นเจอ 1,096 รายการ

ไตรทวาร

หมายถึง[-ทะวาน] น. ทวารทั้ง ๓ คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.

ถ่มร้าย

หมายถึงน. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสำหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยักหล่ม เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.

ถลาย

หมายถึง[ถะหฺลาย] ก. แตก, มีคำที่ใช้คล้ายกันอีก คือ ฉลาย สลาย.

เถรภูมิ

หมายถึง[เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.

เถาหัวด้วน

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาไร้ใบ ๒ ชนิดในสกุล Sarcostemma วงศ์ Asclepiadaceae คือ ชนิด S. acidum J. Voigt และชนิด S. brunonianum Wight et Arn. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทำยาได้, เถาวัลย์ยอดด้วน ก็เรียก.

ทวิป

หมายถึงน. ช้าง. (ส. ทฺวิป ว่า ผู้ดื่ม ๒ หน คือ ด้วยงวงและด้วยปาก).

ทวีป

หมายถึง[ทะวีบ] น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป; (โบ) เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป; ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่ามี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. (ส.; ป. ทีป).

กฏุก-

หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

ธราธาร

หมายถึงน. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).

ก้ง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ว. ลาย, ด่าง, เช่น แมวก้ง ผ้าตาก้ง (คือ ผ้าตาโต ๆ ที่มีสีต่าง ๆ กัน).

กรรมบถ

หมายถึง[กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง ตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ. (ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ