ค้นเจอ 88 รายการ

ตลอด

หมายถึง[ตะหฺลอด] บ. แต่ต้นไปจนถึงปลาย, แต่ต้นจนจบ, แต่จุดหนึ่งไปจนถึงอีกจุดหนึ่ง, เช่น ตลอดวันตลอดคืน ดูแลให้ตลอด ทำไปไม่ตลอด, ทั่ว เช่น ดูแลไม่ตลอด.

เมื่อ

หมายถึงน. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.

ให้จงได้,ให้ได้

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับกำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.

ทอน

หมายถึงก. ตัดหรือหั่นให้เป็นท่อน เช่น ทอนฟืน, ทำให้ลดลงหรือให้สั้นลง เช่น ทอนกำลัง ทอนอายุ; หักจำนวนเงินตามราคาแล้วคืนส่วนที่เหลือไป เช่น ทอนเงิน ทอนสตางค์.

เซลล์ปฐมภูมิ

หมายถึงน. เซลล์ไฟฟ้าประเภทที่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็นำไปใช้เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ทันที เมื่อใช้ไปแล้ว ส่วนประกอบบางส่วนจะหมดเปลืองไปโดยไม่กลับคงคืนเป็นสภาพเดิมได้อีก เช่น ถ่านไฟฉาย. (อ. primary cell).

ขุก

หมายถึงว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลำบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).

สติ

หมายถึง[สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).

แครงเครียว

หมายถึง[แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คำหลวง มหาพน).

ลา

หมายถึงก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คำพูด หรือด้วยหนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.

ดอก

หมายถึงว. คำประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทำไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้วโลมคืน. (ม. คำหลวง ชูชก).

สิ้นสติ

หมายถึงก. สลบ, หมดความรู้สึก, เช่น เขาตกใจแทบสิ้นสติ เขาถูกต่อยจนสิ้นสติ. ว. อาการที่ขาดความรู้สึกตัว เช่น เที่ยวดึก ๆ ทุกคืน พอกลับถึงบ้านก็นอนหลับเหมือนสิ้นสติ.

ปัจฉิมยาม

หมายถึง[ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ