ค้นเจอ 376 รายการ

ปัญญา

หมายถึงน. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

ชวน,ชวน-,ชวน-

หมายถึง[ชะวะนะ-] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).

ดลใจ

หมายถึงก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทำ เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ.

วิตกจริต

หมายถึง[วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้ายทางเสีย. (ป.).

หักใจ

หมายถึงก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือสูญเสียเป็นต้น.

เห็น

หมายถึงก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแก่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้.

ยืนกระต่ายสามขา

หมายถึง(สำ) ก. พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.

แยแส

หมายถึงก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.

เบาความ

หมายถึงว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.

ฉันท-,ฉันท-,ฉันท์,ฉันท์,ฉันทะ

หมายถึงน. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).

ล้ำยุค,ล้ำสมัย

หมายถึงว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียนมีความคิดล้ำยุค.

นวย

หมายถึงก. เยื้องกราย, กรีดกราย; น้อม เช่น คิดคิ้วคำนวณนวย คือธนูอันก่งยง. (สมุทรโฆษ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ