ค้นเจอ 1,906 รายการ

หน่วยคำ

หมายถึงน. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).

คำขึ้นต้น

หมายถึงน. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.

คำบอกกล่าว

หมายถึง(กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำบอกกล่าวอย่างหนึ่ง.

คำประสาน

หมายถึงน. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.

คำผวน

หมายถึงน. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก.

คำผสาน

หมายถึงดู คำประสาน.

สวนคำ

หมายถึงว. อาการที่พูดย้อนตอบทันที เช่น พอเขาว่ามา ฉันก็ว่าสวนคำไป.

เกี๋ยงคำ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นลำเจียก. (ดู ลำเจียก).

คำสร้อย

หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.

ย้อนคำ

หมายถึงก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ.

ยืนคำ

หมายถึงก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง.

คำกร่อน

หมายถึง(ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ