ค้นเจอ 2,230 รายการ

ป่าระนาม

หมายถึงน. ป่าที่มีนํ้าฉำแฉะ.

อารัญ

หมายถึงว. อยู่ในป่า, มีในป่า. (ป. อารญฺ; ส. อารณฺย).

ไม้ป่าค่อม

หมายถึงน. ไม้ดัดแบบหนึ่ง ต้นเตี้ย มีกิ่งรอบต้นเป็นพุ่มกลม.

ปล่อยเสือเข้าป่า

หมายถึง(สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.

อารัณย์

หมายถึงว. อยู่ในป่า, มีในป่า. (ป. อารญฺ; ส. อารณฺย).

วเนจร

หมายถึง[วะเนจอน] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).

พนันดร,พนานดร

หมายถึง[พะนันดอน, -ดอน] น. ระหว่างป่า, กลางป่า, ภายในป่า. (ป., ส. วนนฺตร).

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

รกเรี้ยว

หมายถึงว. รกมาก เช่น ป่ารกเรี้ยว.

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

วนาลัย

หมายถึงน. ป่า. (ส. วนาลย).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ