ค้นเจอ 2,139 รายการ

ออกสิบสองภาษา

หมายถึงน. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดยนำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.

ภารดี

หมายถึง[พาระ-] น. ถ้อยคำ, คำพูด, ภาษา. (ส. ภารติ).

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

ดาด,ดาด,ดาด ๆ

หมายถึงว. ธรรมดา ๆ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนดาด ๆ.

พกหิน

หมายถึง(สำ) ว. ใจหนักแน่น, ใช้เข้าคู่กับคำ พกนุ่น ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.

เขียนไทย

หมายถึงน. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.

จตุ,จตุ-

หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).

คำเติม

หมายถึงน. คำที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคำตั้งในภาษาคำติดต่อ.

พกนุ่น

หมายถึง(สำ) ว. ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.

อุปริ

หมายถึง[อุปะริ, อุบปะริ] คำประกอบหน้าศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เบื้องบน ข้างบน. (ป., ส.).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ