ค้นเจอ 2,144 รายการ

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

เจ๊า

หมายถึงก. เลิกกันไป, ไม่ได้ไม่เสีย. (ภาษาการพนัน).

สุ

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ดี งาม ง่าย สำหรับเติมข้างหน้าคำ เช่น สุคนธ์. (ป., ส.).

เพลงออกสิบสองภาษา

หมายถึงน. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดยนำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒ ภาษา.

คำตั้ง

หมายถึงน. คำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทำพจนานุกรม; คำที่เป็นหลักให้คำอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคำติดต่อ.

หมายถึงคำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).

ไทยนับสาม,ไทยนับห้า

หมายถึงน. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับอย่างโบราณ เมื่อจะอ่านต้องนับอ่านตัวที่ ๓ หรือที่ ๕ ฯลฯ ตามชื่อ.

หม่อง

หมายถึงน. คำนำหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่งใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.

เดินทุ่ง

หมายถึงก. ตะลุยไป (ใช้ในการอ่าน แต่ง หรือแปลหนังสือ).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ถอดรหัส

หมายถึงก. ถอดสารลับออกเป็นภาษาสามัญ.

คาถา

หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ