ค้นเจอ 1,952 รายการ

งะ

หมายถึง(โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.

เป็น

หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.

ปฤจฉาสรรพนาม

หมายถึง(ไว) น. คำแทนชื่อที่เป็นคำถาม เช่นคำ “ใคร” ฯลฯ.

ถะถุนถะถัน

หมายถึง(กลอน) ว. หยาบช้า เช่น คำถะถุนถะถันว่า คำหยาบช้า.

แปลตามพยัญชนะ

หมายถึงก. แปลตามตัวอักษร, แปลความหมายของคำอย่างตรงไปตรงมาคำต่อคำ.

ไม่

หมายถึงว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.

ผิดวาจา

หมายถึงว. ไม่รักษาคำพูด, ผิดคำพูด ก็ว่า.

กิตติ

หมายถึง[กิดติ] น. คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ. (ป.).

สระ

หมายถึง[สฺระ] คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยคำ สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.

ปฏิวาท

หมายถึง[-วาด] น. คำโต้, คำคัดค้าน. (ป.).

นฤ

หมายถึง[นะรึ-] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน, นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คำนี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต เป็น นิสฺ).

นฤ-

หมายถึง[นะรึ-] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน, นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คำนี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต เป็น นิสฺ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ