ค้นเจอ 294 รายการ

รา

หมายถึง(กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคำว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้างขุนแผน).

ใช้

หมายถึงก. บังคับให้ทำ เช่น ใช้งาน; จับจ่าย เช่น ใช้เงิน; เอามาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้เรือ ใช้รถ; ชำระ ในคำว่า ใช้หนี้; ตอบแทน, ให้ทดแทน, เช่น เมื่อเขาเลี้ยงเรา เราต้องเลี้ยงใช้เขา.

ว่าขาน

หมายถึงก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).

สง

หมายถึงก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.

ห้อม

หมายถึงก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).

ขนัด

หมายถึง[ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคำว่า แน่นขนัด.

อู่

หมายถึงน. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่นํ้า; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สำหรับเก็บเรือหรือซุง.

อัมพร

หมายถึง[-พอน] น. ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ; เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. (ป., ส.).

อ้าย

หมายถึง(โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย. (สามดวง); โดยปริยายอนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า พี่อ้าย. ว. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย.

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

บุรพบท

หมายถึง[บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

ร่วน

หมายถึงว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลำคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตกละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ