ค้นเจอ 3,585 รายการ

สาลินี

หมายถึงน. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คำ คำที่ ๑ และคำที่ ๔ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ

รักษาคำพูด

หมายถึงก. ทำตามถ้อยคำที่พูดให้สัญญาไว้.

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

สรรพางค์

หมายถึง[สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค).

ฉันใด

หมายถึงว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่กับคำ ฉันนั้น ซึ่งเป็นคำรับ).

คำเผดียงสงฆ์

หมายถึงน. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน.

แดะ

หมายถึงก. แอ่นตัวหรือดีดตัวขึ้น. น. เรียกท่าหนึ่งของวิชาพลศึกษาที่แอ่นตัวขึ้นก่อนที่จะทิ้งตัวลงในการแข่งขันกระโดดไกล กระโดดสูง ราวเดี่ยว เป็นต้น.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.

ผิดคำพูด

หมายถึงว. ไม่รักษาคำพูด, ผิดวาจา ก็ว่า.

กก

หมายถึงน. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ มาตรากก.

จะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ