ค้นเจอ 4,117 รายการ

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.

กับ

หมายถึงเป็นคำที่เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

สัญญี

หมายถึงว. มีความหมายรู้ได้, มีความรู้สึก, มีความระลึก, มีความจำได้. (ป.).

หน่วยคำ

หมายถึงน. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำอิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และหน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).

ทะ

หมายถึงคำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น หรือเป็นคำซํ้าซึ่งคำหน้าเสียงกร่อนไป เช่น

ฉะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

พ้อง

หมายถึงว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.

สมานคติ

หมายถึง[สะมานะ-] น. การดำเนินอย่างเดียวกัน, การมีความเห็นพ้องกัน. (ส.).

จะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.

วะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ