ค้นเจอ 226 รายการ

อริยทรัพย์

หมายถึงน. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).

อัพภาส

หมายถึง[อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).

รงค,รงค-,รงค์

หมายถึง[รงคะ-, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกำหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).

ภยาคติ

หมายถึง[พะยาคะติ] น. ความลำเอียงเพราะความกลัว เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. ภย + อคติ).

ภควดี

หมายถึง[พะคะวะดี] ใช้เป็นคำเรียกสตรีที่เคารพ เช่น พระมหิษี พระอุมา พระลักษมี. (ป., ส. ภควตี).

โภคยทรัพย์

หมายถึง[โพกคะยะ-] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อใช้ย่อมเสียภาวะเสื่อมสลายไปในทันใดเพราะการใช้นั้น หรือซึ่งใช้ไปในที่สุดย่อมสิ้นเปลืองหมดไป.

จตุรงคโยธา

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา).

เสนางค์,เสนางคนิกร

หมายถึง[เส-นาง, -คะนิกอน] น. ส่วนแห่งกองทัพโบราณมี ๔ ส่วน คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า. (ป.).

ฆนะ

หมายถึง[คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.).

นานัครส

หมายถึง[นานักคะรด] น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัครสโภชชาหาร. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. นานา + อคฺค + รส).

ฆน

หมายถึง[คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.).

ฆน-

หมายถึง[คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ