ค้นเจอ 142 รายการ

ฝูง

หมายถึงน. พวก, หมู่, (ใช้แก่คนสามัญทั่ว ๆ ไป) เช่น ฝูงคน ฝูงชน, ใช้แก่อมนุษย์สามัญทั่ว ๆ ไป เช่น ฝูงเทวดา ฝูงยักษ์, ใช้แก่สัตว์ (นอกจากช้าง) เช่น ฝูงสัตว์ ฝูงวัว ฝูงควาย ฝูงมด.

ทาม

หมายถึงน. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควายไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทำเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่, สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถหรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).

ลูกแหง่

หมายถึงน. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.

แหง่

หมายถึง[แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.

ตื่น

หมายถึงก. ฟื้นจากหลับ เช่น ตื่นนอน, ไม่หลับ เช่น ตื่นอยู่; แสดงอาการผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ เป็นต้น เช่น วัวตื่น ควายตื่น ตื่นเวที ตื่นยศ ตื่นไฟ; รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในคำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า รู้เท่าทัน, รู้ตัวขึ้น.

ตาก

หมายถึงก. ผึ่งให้แห้ง เช่น ตากผ้า, ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เช่น ตากแดด ตากฝน; ตรำ, สู้ทน, เช่น เดินตากฝน นอนตากยุง. ว. ห่าง, แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน; ที่ผึ่งแดดจนแห้ง เช่น ข้าวตาก กล้วยตาก; เรียกหลังคาเรือนที่ชันน้อยว่า หลังคาตาก.

ดอกจอก

หมายถึงน. ชื่อลายที่มีลักษณะคล้ายต้นจอก; เรียกกระเพาะอาหารหยาบของสัตว์บางชนิดเช่นวัวควาย ซึ่งพลิกกลับแล้วมีสัณฐานคล้ายต้นจอก; เรียกสว่านชนิดหนึ่งที่ปลายบานว่า สว่านดอกจอก; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าใส่ในพิมพ์รูปอย่างดอกจอกแล้วเอาไปทอด; (ปาก) ดอกไม้จีบ.

กระจง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).

ต้อน

หมายถึงก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้าคอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รำต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตูเปิดปิดได้ ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.

คราด

หมายถึง[คฺราด] น. เครื่องมือทำไร่ทำนาใช้วัวหรือควายลาก ลักษณะเป็นคาน มีซี่ห่าง ๆ กัน มีคันชักสำหรับลากขี้หญ้าและทำให้ดินที่ไถแล้วซุย, เครื่องมือสำหรับชักหรือลากขี้หญ้าหรือหยากเยื่อเป็นต้น ทำเป็นซี่ ๆ มีด้ามสำหรับจับชักหรือลากไป. ก. ชักหรือลากขี้หญ้าเป็นต้นด้วยคราดนั้น.

ง่ามถ่อ

หมายถึงน. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่างโค้งคล้ายเขาควายมีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลงในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ.

ไล่

หมายถึงก. ตามไปติด ๆ เพื่อให้ทันหรือเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไล่ยิง ไล่กัด ไล่ขวิด ไล่จิก; ขับ, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ไล่ขับ หมายความว่า บังคับให้ออกไปให้พ้น, บังคับให้ไปหรือให้ออกจากที่เดิม เช่น ไล่ควายเข้าคอก ไล่คนออกจากบ้าน; ต้อนให้จนมุม เช่น เอาม้าและเรือไล่ขุน; สอบดูลำดับก่อนหลังเพื่อทบทวนความรู้ความจำเป็นต้น เช่น เรียกนักเรียนมาไล่แบบ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ