ค้นเจอ 71 รายการ

กาษา,กาสา,กาสา

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสำรับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตำราทำนายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).

ไพ่ป๊อก

หมายถึงน. ชื่อไพ่ชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๕๒ ใบ ใช้เล่นการพนันได้หลายอย่าง เช่น บริดจ์ โป๊กเกอร์ หรือใช้ทำนายโชคชะตาได้ด้วย; การพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ ๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงินให้คนที่ได้แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา.

ตาเดียว

หมายถึงน. ชื่อปลาในอันดับ Pleuronectiformes พบทั้งในทะเล นํ้ากร่อย และนํ้าจืด เมื่อเกิดใหม่ตาจะอยู่คนละข้างกันเหมือนลูกปลาทั่วไป แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นกะโหลกจะบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กล้ามเนื้อข้างหนึ่งบิดตามไปด้วย จึงทำให้ตาทั้ง ๒ ข้างอยู่ด้านเดียวกัน มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ลิ้นหมา ใบขนุน ซีกเดียว ลิ้นเสือ จักรผาน ยอดม่วง ลิ้นหมาหงอนยาว ลิ้นควาย.

ละเอียด

หมายถึงว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้าละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดยละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.

วงเล็บปีกกา

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x - 5{7 - (x - 6) + 3x} - 28 = 39.

หน้าตัก

หมายถึงน. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิโดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้วพระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก.

เพลง

หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).

ควง

หมายถึงก. แกว่งหรือทำให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวมหรือโยงเข้าในกลุ่มเดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึงคบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกันมาหลายปีแล้ว; เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือสำหรับอัดใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.

ซ้อน

หมายถึงก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่งหรือลำหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทางจราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.

ละ

หมายถึงก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคำหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดยใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ ... หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมายดังนี้ แสดงว่ามีคำหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.

ออก

หมายถึงก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทำให้ปรากฏ เช่น ออกภาพทางโทรทัศน์; ทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วย หมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สำเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คำประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดำออกอย่างนี้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ