ค้นเจอ 63 รายการ

อินทรีย

หมายถึง[-ซียะ-] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สำรวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).

อินทรีย-

หมายถึง[-ซียะ-] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สำรวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).

วสี

หมายถึงน. ผู้ชำนะตนเอง, ผู้สำรวมอินทรีย์, ผู้ตัดกิเลสได้ดังใจ; ผู้ชำนาญ. (ป.).

ทั้งกลม

หมายถึงว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น; เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้องด้วยว่า ตายทั้งกลม คือ ตายทั้งหมด.

ศิษย์เอก

หมายถึงน. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวงหรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.

ยุทธปัจจัย

หมายถึงน. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.

ชิตินทรีย์

หมายถึง[ชิตินซี] (แบบ) น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สำรวมอินทรีย์. (ป., ส. ชิตนฺทฺริย).

ให้ศีล

หมายถึงก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคนควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.

บรรดา

หมายถึง[บัน-] ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดามนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า.

เบญจธรรม

หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล

จุฬาราชมนตรี

หมายถึงน. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.

สังวร

หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ