ค้นเจอ 649 รายการ

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

หมายถึง(สำ) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร.

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

หมายถึง(สำ) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์.

เลศนัย

หมายถึง[เลดไน] น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.

หมอขวัญ

หมายถึงน. ผู้รู้พิธีทำขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.

อายตนะ

หมายถึง[-ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).

เล่าเรียน

หมายถึงก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหาความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.

ธรรมายตนะ

หมายถึง[ทำมายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).

นักธรรม

หมายถึงน. ผู้รู้ธรรม, ผู้สอบความรู้ธรรมได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ มี ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก; ฤษี.

วิภาวี

หมายถึงน. ผู้รู้แจ้งชัด, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิภาวินฺ).

เผดียง

หมายถึง[ผะเดียง] ก. บอกให้รู้, บอกนิมนต์, ใช้ว่า ประเดียง ก็มี.

พิชญ์

หมายถึงน. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง. (ส. วิชฺ).

พิชาน

หมายถึงน. ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า. (อ. consciousness).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ