ค้นเจอ 424 รายการ

แหว่ง

หมายถึง[แหฺว่ง] ว. ไม่เต็มตามที่ควรมี เช่น ปากแหว่ง ตัดผมแหว่ง กินขนมแหว่งไปหน่อย.

ฟื้นฝอย

หมายถึงก. คุ้ยเขี่ยหาความที่ควรจะสงบแล้วให้กลับเกิดเป็นเรื่องขึ้นมาอีก, มักใช้ว่า ฟื้นฝอยหาตะเข็บ.

จริยศาสตร์

หมายถึงน. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม. (อ. ethics).

วัช,วัช,วัช-,วัชชะ,วัชชะ

หมายถึง[วัดชะ-] น. สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).

สาธย,สาธย-,สาธยะ

หมายถึง[-ทะยะ-] ว. ควรทำให้สำเร็จ. (ปรัชญา) น. สิ่งหรือเรื่องที่อนุมาน. (ส. สาธฺย).

แล้วก็แล้วไป

หมายถึงว. อาการที่พูดปลอบใจหรือให้สติว่า เมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดหรือยุติลงแล้ว ก็ไม่ควรเก็บมาเป็นกังวลหรือรื้อฟื้นขึ้นมาอีก.

ตักน้ำรดหัวสาก

หมายถึง(สำ) ก. แนะนำพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็กปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.

กัปปิยโวหาร

หมายถึงน. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.

แก่นสาร

หมายถึงน. สิ่งที่ยั่งยืนถาวร, หลักที่ควรยึดถือ,คุณประโยชน์, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่เป็นแก่นสาร.

ฟุ้งเฟ้อ

หมายถึงว. คะนอง, ได้ใจ, เห่อเหิม; ใช้จ่ายเกินควรเกินฐานะ, ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่สมควร.

ที่จริง

หมายถึงว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.

เตินเต่อ

หมายถึงว. สั้นหรือสูงเกินควร เช่น นุ่งผ้าสั้นเตินเต่อ นุ่งผ้าสูงเตินเต่อ, เต่อ ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ