ค้นเจอ 241 รายการ

ม้าน้ำ

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลำตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลำตัวตั้ง ใช้ส่วนหางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.

คลี

หมายถึง[คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลมซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมายทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).

แก้ว

หมายถึงน. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จำพวกเพชรพลอย, ของที่ทำเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาวเป็นส่วนประกอบสำคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่นออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทำด้วยแก้วสำหรับใส่นํ้ากินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทำด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคำว่า แก้วทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคำนามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.

ซอง

หมายถึงน. ซอกหรือช่องแคบ เช่น ซองหัวเรือท้ายเรือ เรียกว่า ซองเรือ; ซอกหรือช่องแคบที่ทำขึ้นสำหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่บังคับ; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสำหรับสอดใส่สิ่งของ เช่น ซองธูป ซองพลู ซองจดหมาย ซองบุหรี่, ลักษณนามเรียกว่า ซอง เช่น ธูปซองหนึ่ง บุหรี่ ๒ ซอง; หน่วยของปริมาณของแท่งน้ำแข็งก้อนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น ๔ กั๊ก; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระบอกแต่มีปากบานกว้าง มีงาแซงใส่ ก้นมีฝาทำด้วยไม้ไผ่เจาะรูปิด; เรียกไหชนิดหนึ่ง รูปร่างสูง ๆ ปากเล็กแคบ สำหรับใส่หัวผักกาดเค็มเป็นต้น.

รัตน,รัตน-,รัตน์,รัตนะ

หมายถึง[รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคำอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

ที่นั่ง

หมายถึง(ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ประทับสำหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.

สงฆ์

หมายถึงน. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).

ตะกร้อ

หมายถึง[-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สำหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทำด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สำหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้าข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สำหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.

เสีย

หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.

ขวัญ

หมายถึง[ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง; กำลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทำขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทำพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทำพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทำขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึงหญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กำลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.

แม่

หมายถึงน. หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คำใช้นำหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทำกิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทำครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจำพวกสิ่งที่สำหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คำหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คำหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.

นักษัตร

หมายถึง[นักสัด] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ