ค้นเจอ 243 รายการ

จับมือ

หมายถึงก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ.

ลูกบิด

หมายถึงน. อุปกรณ์สำหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิมทำเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สำหรับปิดเปิดให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สำหรับบิดเร่งหรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือหย่อน มักทำด้วยไม้หรืองา.

เสียบ

หมายถึงก. แทงคาไว้ เช่น เอาไม้แหลมเสียบปลา เอามีดเสียบพุง, เอาของดันลงบนปลายสิ่งที่แหลม ๆ เช่น เอากระดาษเสียบบนที่เสียบกระดาษ, เหน็บ เช่น เอาจดหมายเสียบไว้ที่ประตู; ยืนตัวแข็งทื่อต่อหน้าผู้ใหญ่เป็นการแสดงกิริยาไม่อ่อนน้อม เรียกว่า ยืนเสียบ.

จุก

หมายถึงน. สิ่งที่ใช้อุดปากขวด. ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น กินมากจนจุก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอุดปากขวดเป็นต้น เช่น เอาไม้ก๊อกจุกปากขวด, ค้างคาอยู่ที่ช่อง เช่น นั่งจุกประตู ลิ้นจุกปาก, ปิด ใช้ในความเช่น หางจุกตูด.

เสียว

หมายถึงก. รู้สึกแปลบเพราะเจ็บ เช่น รู้สึกเสียวที่ข้อเท้าเพราะเท้าแพลง, เกิดอาการที่ทำให้ขนลุกหรือกลัว เช่น เดินเข้าไปในป่าช้าเวลาค่ำ ๆ ได้ยินเสียงแกรกกรากก็รู้สึกเสียว พอเห็นเข็มฉีดยาก็เสียวเสียแล้ว, รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกำหนัด; โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกเกรง เช่น เขาไม่ได้ส่งการบ้านเสียวอยู่ตลอดเวลาว่าครูจะเรียกไปลงโทษ.

ประจำ

หมายถึงว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจำ นั่งประจำ; เฉพาะ เช่น ตราประจำกระทรวง ตราประจำตำแหน่ง; ที่กำหนดให้มีเป็นปรกติ เช่น งานประจำปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจำทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครูหรืออาจารย์ประจำชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและจะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจำตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้างไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจำ, เรียกผู้ที่มาติดต่อหรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจำ ขาประจำ, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทำตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจำ, มัดจำ ก็ว่า.

สอน

หมายถึงก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.

ตาย

หมายถึงก. สิ้นใจ, สิ้นชีวิต, ไม่เป็นอยู่ต่อไป, สิ้นสภาพของการมีชีวิต, เช่น สภาวะสมองตาย; เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น มือตาย ตีนตาย; ไม่เดินเพราะเครื่องเสียหรือหยุดเป็นต้น เช่น รถยนต์ตาย นาฬิกาตาย; ยืนแต้มอยู่อย่างเดียว เช่น ลูกเต๋าตายหก; ลักษณะที่ประตูในการเล่นการพนันบางประเภท เช่น โป ถั่ว ไม่ออกเลย หรือนาน ๆ จึงจะออกสักครั้งหนึ่ง; ผิดตามที่กติกากำหนดไว้ในการเล่นกีฬาหรือการละเล่นบางชนิด.

บังใบ

หมายถึงน. ชื่อกบชนิดหนึ่งสำหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึกลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนำมาประกอบเป็นวงกบหรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนำมาประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.

ซุ้ม

หมายถึงน. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้, ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง เช่น ซุ้มดอกเห็ด, สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปต่าง ๆ กัน เช่นมีรูปคล้ายหน้าจั่ว เรียกว่า ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง หรือ ซุ้มรังไก่.

ต้อน

หมายถึงก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้าคอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รำต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตูเปิดปิดได้ ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ