ค้นเจอ 97 รายการ

บทเรศ

หมายถึง[บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).

สบจ

หมายถึง[สะบด] (แบบ) น. คนชาติตํ่าช้า. (ป. สปจ; ส. ศฺวปจ).

รักสมุก

หมายถึงน. น้ำรักผสมเถ้าถ่านของใบตองแห้งหรือหญ้าคา บดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้ทารองพื้น.

ข้าวกล้อง

หมายถึงน. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.

บุรพภัทรบท,ปุพพะภัททะ

หมายถึง[บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.

กรรมบถ

หมายถึง[กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง ตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ. (ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).

แหลก

หมายถึง[แหฺลก] ว. เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น ข้าวแหลก, ละเอียดเป็นผง เช่น บดยาให้แหลก, ป่นปี้ เช่น ตีกันแหลก.

โม่

หมายถึงน. เครื่องบดชนิดหนึ่งทำด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่าลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบดเมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบรอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.

บทวเรศ

หมายถึง[บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณตบทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).

ข้าวซ้อม

หมายถึงน. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทนเรียกว่า ข้าวกล้อง.

คำทาย

หมายถึงน. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคำว่า อะไรเอ่ยอยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.

ข้าวซ้อมมือ

หมายถึงน. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทนเรียกว่า ข้าวกล้อง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ