ค้นเจอ 226 รายการ

ทิฏฐุชุกรรม

หมายถึง(แบบ) น. การทำความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).

กระดูกสันหลัง

หมายถึงน. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของลำตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สำคัญ, ส่วนที่เป็นพลังคํ้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.

ปลด

หมายถึง[ปฺลด] ก. เอาออก (ใช้แก่สิ่งที่เกี่ยวอยู่ แขวนอยู่ คล้องอยู่ หรือขัดอยู่ เป็นต้น) เช่น ปลดม่านที่แขวนอยู่ ปลดห่วงที่เกี่ยวอยู่ ปลดลูกดุมที่ขัดอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ.

สรตะ

หมายถึง[สะระ-] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกตหรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียนเป็น สะระตะ ก็มี.

หวาน

หมายถึงว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุดไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.

ศีล

หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).

ภูตคาม

หมายถึง[พูตะ-] น. พืชพันธุ์อันอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ พืชที่เกิดจากเหง้า ๑ ที่เกิดจากต้น ๑ ที่เกิดจากข้อ ๑ ที่เกิดจากยอด ๑ และที่เกิดจากเมล็ด ๑, คู่กับ พืชคาม คือ พืชพันธุ์ที่แม้จะถูกพรากจากที่แล้ว ก็ยังจะเป็นได้อีก. (ป.; ส. ภูตคฺราม ว่า สิ่งทั้งปวง, สิ่งที่เกิดแล้วทั้งปวง).

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.

ปี่อ้อ

หมายถึงน. ปี่ที่ลำตัวหรือเลาทำด้วยไม้รวกปล้องเดียวไม่มีข้อ ยาวราว ๒๔ เซนติเมตร ตามลำตัวนิยมใช้ไฟหรือตะกั่วร้อน ๆ ลนให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนหัวและท้ายของเลาปี่มักใช้ทองเหลืองหรือเงินเลี่ยมไว้เพื่อกันแตกและให้ดูงาม.

ขา

หมายถึงน. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สำหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า); สิ่งของซึ่งมีลักษณะคล้ายขาสำหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง; เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.

ดีปลี

หมายถึง[-ปฺลี] น. ชื่อไม้เถา ๓ ชนิดในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae คือ ชนิด P. longum L., P. peepuloides Roxb. และ P. retrofractum Vahl มีรากตามข้อของลำต้นเพื่อยึดเกาะ ผลอัดแน่นเป็นช่อ ทุกส่วนมีกลิ่น โดยเฉพาะผลกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศและทำยาได้.

นาฬิกา

หมายถึงน. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกาข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่วนาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกำหนดเวลา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ