ค้นเจอ 119 รายการ

กระแหล่ง

หมายถึง[-แหฺล่ง] น. วัตถุคล้ายกระดิ่ง แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน ทำด้วยเหล็ก ใช้แขวนคอม้า โค กระบือ.

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

กะยุ

หมายถึง(โบ) ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา. (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน. (พิชัยสงคราม).

กระลา

หมายถึงน. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).

กำราล

หมายถึง[-ราน] (แบบ) น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกำราลไพโรจน์ในนิโครธารามรังเรจน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร). (ข. กํราล).

ต่าง

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับบรรทุกสิ่งของมีคานพาดไว้บนหลังสัตว์พาหนะมีวัวและลาเป็นต้น ให้ห้อยลงมาทั้ง ๒ ข้าง, เรียกโค ลา ที่ใช้บรรทุกสิ่งของในลักษณะเช่นนั้นว่า โคต่าง ลาต่าง. ก. บรรทุก เช่น ต่างข้าวเข้ามาส่ง, ใช้อย่างมาตราตวงก็ได้ เช่น ได้ข้าวไม่ถึง ๕ ต่าง.

กม

หมายถึง(โบ) ก. กุม เช่น เกลือกเจ้าแม่มาคิดคม ครุบคั้นกินกม บไว้บวางตัวตู. (เสือโค).

ปฤงคพ

หมายถึง[ปฺริงคบ] (กลอน) น. ปุงคพ, โคผู้, หมายความว่า ผู้เลิศ, ผู้ประเสริฐ, หัวหน้า. (ป., ส. ปุงฺคว).

เรียนออนไลน์

หมายถึงการเรียนของนักเรียนไทยในช่วงโควิด 19 ที่สะท้อนภาพการผลักภาระของกระทรวงไปยังผู้ปกครองที่หลายท่านยังไม่พร้อมทั้งสภาพแวดล้อมและปัจจัยด้านการเงิน

ดัน

หมายถึงก. ผลักเพื่อให้เคลื่อนไปด้วยกำลัง เช่น ดันประตู; (ปาก) โดยปริยายหมายถึงขืนทำ เช่น กางเกงคับยังดันสวมเข้าไปได้, ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะทำ เช่น ดันขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.

โคบุตร

หมายถึง[-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิวเหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).

นาโครคินทระ

หมายถึง[นาโคระคินทฺระ] (แบบ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรกคำนึง. (นันโท). (ส. นาค + อุรค + อินฺทฺร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ