ค้นเจอ 234 รายการ

ธรรมยุต

หมายถึงน. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

กัลยาณ,กัลยาณ-

หมายถึง[กันละยานะ-] ว. งาม, ดี, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น กัลยาณคุณ = คุณอันงาม กัลยาณธรรม = ธรรมอันดี กัลยาณมิตร = มิตรดี. (ป., ส.).

ธรรมยุทธ์

หมายถึงน. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.).

กระลาการ

หมายถึง(โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).

การเปรียญ

หมายถึง[-ปะเรียน] น. เรียกศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ.

เจ้าพระยา

หมายถึงน. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จเจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี.

ปลงธรรมสังเวช

หมายถึง[ปฺลงทำมะสังเวด] ก. เกิดความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล).

สัมมาทิฐิ

หมายถึงน. ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺิ).

ฮั้ว

หมายถึง(ปาก) ก. รวมหัวกัน, ร่วมกันกระทำการ, สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม. (จ.).

มหา

หมายถึงน. สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป.

สนามหลวง

หมายถึงน. สถานซึ่งกำหนดให้เป็นที่สอบไล่นักธรรมและบาลี ในคำว่า สอบธรรมสนามหลวง สอบบาลีสนามหลวง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ