ค้นเจอ 23 รายการ

ทำขวัญ

หมายถึงก. ทำพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทำขวัญนาค ทำขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.

ฝีจัก

หมายถึงน. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสำหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ ฝีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, สีจัก ก็ว่า.

สีจัก

หมายถึงน. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสำหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, ฝีจัก ก็ว่า.

ขวัญแขวน

หมายถึงก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น เป็น อกสั่นขวัญแขวน.

รับขวัญ

หมายถึงก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.

เกี่ยงตาย

หมายถึงก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).

แสม

หมายถึง[สะแหฺม] น. ชื่อลิงชนิด Macaca fascicularis ในวงศ์ Cercopithecidae เป็นลิงไทยที่มีหางยาวที่สุด คือ ยาวเท่ากับความยาวของหัวและลำตัวรวมกัน ตัวสีนํ้าตาลอมเทา ขนหัวสั้นและวนเป็นรูปขวัญ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง พบทุกภาคของประเทศไทย กินพืช แมลง และปูแสม.

แปลง

หมายถึง[แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมดให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จำแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไข เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียวแปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทำ เช่น แปลงขวัญ.

เขย่า

หมายถึง[ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้นกระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยาระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทำให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

แถก

หมายถึงก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวง กุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ