ค้นเจอ 378 รายการ

เสี้ยม

หมายถึงก. ทำให้แหลม เช่น เสี้ยมไม้; โดยปริยายหมายความว่า ยุแหย่ให้เขาแตกกันหรือทะเลาะกัน. ว. มีลักษณะค่อนข้างแหลม ในคำว่า หน้าเสี้ยม คางเสี้ยม.

ลดรูป

หมายถึงก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.

มุททา

หมายถึง[มุด-] น. ตรา, พิมพ์, เครื่องสำหรับตีตรา, เครื่องหมาย; แหวน, แหวนตรา. (ป. มุทฺทา; ส. มุทฺรา, มุทฺริกา).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๙ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ษมา เศรษฐี และคำว่า อังกฤษ.

อดิเรก,อดิเรก-

หมายถึง[อะดิเหฺรก, -เหฺรกกะ-] ว. พิเศษ. น. ชื่อพรพิเศษที่พระสงฆ์ถวายพระมหากษัตริย์ ในคำว่า ถวายอดิเรก. (ป., ส.).

กิเลส,กิเลส-

หมายถึง[-เหฺลด, -เหฺลดสะ-] น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เช่น ยังตัดกิเลสไม่ได้ กิเลสหนา; กิริยามารยาท ในคำว่า กิเลสหยาบ.

บ่ม

หมายถึงก. ทำให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา; โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี บ่มนิสัย.

ยัน

หมายถึงก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.

บุพบท

หมายถึงน. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

เที่ยง

หมายถึงว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคำว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยำ, ในคำว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.

แอก

หมายถึงน. ไม้วางขวางบนคอวัวหรือควายใช้ไถนา คราดนา หรือเทียมเกวียน เป็นต้น; โดยปริยายหมายถึงการถูกกดขี่ ในคำว่า ปลดแอก.

ผลุง

หมายถึง[ผฺลุง] ว. อาการที่ทิ้งหรือปาสิ่งของไปโดยเร็ว เช่น ทิ้งผลุง, อาการที่กระโดดไปโดยเร็ว ในคำว่า โดดผลุง, เสียงอย่างเสียงของหนักตกนํ้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ