ค้นเจอ 342 รายการ

ราชาวดี

หมายถึงน. เรียกการลงยาชนิดหนึ่งสำหรับเคลือบทองให้เป็นสีต่าง ๆ เช่น เขียว แดง ฟ้า ว่า ลงยาราชาวดี. (เปอร์เซีย).

ทองทศ

หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.

ปริก

หมายถึง[ปฺริก] น. ส่วนยอดของฝาโถหรือผอบที่ทำด้วยทองอย่างหัวแหวนนพเก้า สำหรับสวมบนฝาโถหรือผอบ.

อปรา

หมายถึง[อะปะรา, อับปะรา] (กลอน) ก. พ่ายแพ้ เช่น ต่อสู้เคี่ยวขับไม่อปรา หาไม่พ่อตาจะต้องริบ. (สังข์ทอง).

รับขวัญ

หมายถึงก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.

ทองพัดดึงส์

หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.

ทายา

หมายถึงว. ดี, สำคัญ, ที่ต้องการ, เช่น กูจะให้ขนมของทายา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทยา ก็ใช้.

พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.

กระอักกระไอ

หมายถึงว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทำเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น พูดจากุกกักกระอักกระไอ. (ไกรทอง).

ทองพิศ

หมายถึงน. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.

กระโจมทอง

หมายถึงน. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับหลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.

เหม,เหม-

หมายถึง[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.); เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง; เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ