ค้นเจอ 550 รายการ

จังกวด

หมายถึง(กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).

เต้าส่วน

หมายถึงน. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเปียกกวนกับถั่วเขียวที่เอาเปลือกออกแล้วราดนํ้ากะทิ. (จ.).

เปียก

หมายถึงก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียกข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าวที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.

ประโปรย

หมายถึง[-โปฺรย] ก. ทำน้ำให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ประโปรยน้ำจากพระสุหร่าย.

กระหมุ่น

หมายถึง(โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น นํ้าใช้และนํ้าฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).

กระยาสารท

หมายถึง[-สาด] น. ขนมทำด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทำเฉพาะในเทศกาลสารท.

ปลาตกน้ำตัวโต

หมายถึง(สำ) น. สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกินความเป็นจริง.

ตักน้ำรดหัวตอ

หมายถึง(สำ) ก. แนะนำพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล, ตักนํ้ารดหัวสาก ก็ว่า.

ตักน้ำรดหัวสาก

หมายถึง(สำ) ก. แนะนำพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็กปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า.

น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

หมายถึง(สำ) อย่าขัดขวางผู้ที่มีอำนาจ, เป็นคำพูดเชิงเตือนสติ.

จาน

หมายถึงก. เจือหรือปนด้วยน้ำ เช่น ข้าวจานนํ้า.

โล่งคอ

หมายถึงก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชาหรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ