ค้นเจอ 283 รายการ

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.

ต้วมเตี้ยม

หมายถึงว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือคลาน), กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า.

ไม่เป็นอัน

หมายถึงว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.

อกรรมกริยา

หมายถึง[อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).

โกรธ

หมายถึง[โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).

ปลก

หมายถึง[ปะหฺลก] ว. อาการที่ยกมือไหว้ถี่ผงก ๆ (ใช้แก่กริยาไหว้ ว่า ไหว้ปลก ๆ).

ใคร่

หมายถึง[ไคฺร่] ก. อยาก, ต้องการ, ปรารถนา, ใฝ่; ใช้เป็นคำช่วยกริยาแสดงการขอร้องอย่างสุภาพ เช่น ใคร่ขออนุญาตดำเนินการ.

โด่

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำกริยาบางคำเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่นตำตาอยู่ เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่.

ลัญจกร,ลัญฉกร

หมายถึง[ลันจะกอน, ลันฉะกอน] (แบบ) น. ตรา (สำหรับใช้ตีหรือประทับ), ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชลัญจกร เช่น ประทับพระราชลัญจกร. (ป.).

กรรณ

หมายถึง[กัน] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).

ไม่ทัน

หมายถึงว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทำให้พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.

การ

หมายถึงน. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, มักใช้เข้าคู่กับคำ งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทำกริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ