ค้นเจอ 176 รายการ

กะบึงกะบอน

หมายถึงก. โกรธอย่างแสนงอน, กะบอนกะบึง ก็ว่า. ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยา บ่น), กะบอนกะบึง ก็ว่า.

เถิด

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.

หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่

หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

มับ

หมายถึงว. คำสำหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.

จง

หมายถึงเป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.

กริยาวิเศษณ์วลี

หมายถึง(ไว) น. ท่อนความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.

ต๋อม

หมายถึงว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม).

เถอะน่า

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.

อยู่

หมายถึง[หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.

กริยาวิเศษณานุประโยค

หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.

หน้าเริด

หมายถึงว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มาแต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา, หน้าตั้ง ก็ว่า.

อาราม

หมายถึงว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทำการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นำหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ