ค้นเจอ 176 รายการ

โปรด

หมายถึง[โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความเมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรดข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).

ด้วย

หมายถึงว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่น ทำด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.

กรุณา

หมายถึง[กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).

เลย

หมายถึงก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้านไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำกริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลย ไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋าเลย. สัน. จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้ายไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.

นี่

หมายถึงส. คำใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คำใช้ประกอบคำนามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คำประกอบท้ายคำเพื่อเน้นความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่.

ตะบัน

หมายถึงน. เครื่องตำหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทำด้วยทองเหลือง มีลูกตะบันสำหรับตำ และมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คำประกอบกริยาหมายความว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน.

อาขยาต

หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

หาก

หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

เต็ม

หมายถึงว. มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรจุอยู่จนไม่มีที่ว่าง, ไม่พร่อง, เช่น นํ้าเต็มโอ่ง คนเต็ม; ดาษดื่น, มีอยู่ทั่วไป, เช่น เต็มบ้านเต็มเมือง เต็มตลาด; เปี่ยม เช่น เต็มฝั่ง เต็มตลิ่ง; สุดขีด, เต็มที่, เช่น ตะโกนเต็มเสียง วิ่งเต็มฝีเท้า; ถ้าใช้ประกอบหน้ากริยา หมายความว่า แทบไม่ไหว เช่น เต็มกิน เต็มทน เต็มสู้.

ดู

หมายถึงก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.

เดาะ

หมายถึงก. โยนสิ่งของขึ้นแล้วเอาไม้หรือมือตีรับให้กระท้อนขึ้น. ว. ร้าวจวนจะหัก เช่น ไม้คานเดาะ แขนเดาะ; เติมลงนิดหน่อยเพื่อให้คุณภาพเด่นขึ้น เช่น จืดไปเดาะเกลือลงไปหน่อย; (ปาก) โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กำลังจะดี แต่กลับมีข้อบกพร่องเสียกลางคัน, ใช้เป็นคำแทนกริยาหมายความว่า ทำแปลกกว่าธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้.

ให้

หมายถึงก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พรเป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ